ทนายความจังหวัดเลย  087 438 1838

ทนายความจังหวัดเลย  087 438 1838

เปิดหน้าต่อไป

จังหวัดเลย

ตราประจำจังหวัดเลย

ตราประจำจังหวัดเลย

คำขวัญจังหวัดเลย

  "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด"  

รู้จักเมืองเลย

เลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (กลุ่มจังหวัดสบายดี) ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 540 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง


ประวัติศาสตร์

ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขต ล้านนา ต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"

ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า หมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า เมืองเลย ขึ้นต่อเมืองเพชรบูรณ์อีกทีหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ. 116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ (เดิมตำบลอาฮีเป็นอำเภอ แต่ถูกลดบทบาทลงเป็นตำบลเพราะอยู่ใกล้กับแม่น้ำเหือง เป็นผลมาจากการเสียดินแดนให้ลาวโดยประเทศฝรั่งเศส) อำเภอนากอก (ปัจจุบันอยู่ในประเทศลาว) อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น บริเวณลำน้ำเลย พ.ศ. 2449-2450 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น "อำเภอเมืองเลย"

ในปี พ.ศ. 2445 กรมมหาดไทย นำใบบอกพระยาสุริยวงษา เจ้าเมืองหล่มศัก กราบบังคมทูลว่ามีตราพระราชสีห์โปรดเกล้าฯ ขึ้นไปว่า เมืองเลย เมืองแก่นท้าว เมืองขึ้นเมืองเพชรบูรณ ร้องกล่าวโทษเมืองเพชรบูรณ จึงโปรดให้เมืองหล่มศักดูแลเมืองเลย เมืองแก่นท้าว ไปจนกว่าคดีจะแล้วเสร็จ ในกรณีนี้พระยาสุริยวงษา เห็นว่าพระศรีสงคราม เจ้าเมืองเลย ชราภาพ อายุ 80 ปี เกรงจะรับราชการต่อไปไม่ได้ จึงได้ขอพระราชทานเลื่อนขึ้นเป็นจางวางกำกับดูแลราชการ และได้ขอพระราชทานท้าววรบุตร ว่าที่อุปฮาด เป็นพระศรีสงครามเจ้าเมืองเลย รับราชการฉลองพระเดชพระคุณต่อไป

ภูมิศาสตร์, ภูมิประเทศ, ภูมิอากาศ

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต  

จังหวัดเลย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บนพื้นที่ราบสูงโคราช หรือที่เรียกกันว่า แอ่งสกลนคร มีเนื้อที่ประมาณ 11,424 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7,140,382 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.77 ของพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาในแนวทางทิศเหนือใต้ และจะมีพื้นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาที่ไม่ใหญ่มากนัก สลับกันอยู่ในแนวเทือกเขา มีภูเขาสูงกระจัดกระจาย โดยเฉพาะทางตะวันตกและทางด้านใต้ของจังหวัด มีแหล่งน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเลยที่ไหลผ่านตัวจังหวัด และแม่น้ำโขงในบริเวณตอนบนของจังหวัด มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 520 กม. มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ในแต่ละทิศดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ แขวงไชยบุรี และแขวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดนระหว่างกัน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทือกเขาเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอนากลาง และอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น

จังหวัดเลย มีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับแขวงไซยะบูลี และแขวงเวียงจันทร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความยาว 197 กิโลเมตร มีแม่น้ำโขง แม่น้ำเหือง และแนวสันเขาเป็นพรมแดน

แม่น้ำโขง ระยะทางยาว 71 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอปากชม และอำเภอเชียงคานแม่น้ำเหือง ระยะทางยาว 123 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอท่าลี่ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้วแนวสันเขาในอำเภอนาแห้ว ยาว 33 กิโลเมตร


ภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป ของจังหวัดเลย มีภูเขาล้อมรอบตัวเมือง ลักษณะเป็นแอ่งกระทะ สูงจากระดับน้ําทะเล เฉลี่ยประมาณ 250 เมตร ณ สถานีอุตุนิยมวิทยา ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 3 เขต ดังนี้คือ

เขตภูเขาสูง ทางด้านทิศตะวันตกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่อําเภอภูกระดึง ขึ้นไปอําเภอภูหลวง อําเภอภูเรือ อําเภอท่าลี่ และ เขตอําเภอด่านซ้าย อําเภอนาแห้ว ทั้งหมด มีความสูงตั้งแต่เฉลี่ย 600 เมตร จากระดับน้ําทะเลเขตที่ราบเชิงเขา ได้แก่ บริเวณตอนใต้และตะวันออกของจังหวัด ได้แก่ อําเภอนาด้วง อําเภอปากชม และพื้นที่บางส่วนในเขตอําเภอภูกระดึงและอําเภอภูหลวง เป็นเขตที่ไม่ค่อยมีภูเขาสูงนัก มีที่ราบเชิงเขาพอที่จะทําการเพาะปลูกได้ มีประชาชนหนาแน่นปานกลางเขตที่ราบลุ่ม มีพื้นที่น้อยมากในตอนกลางของจังหวัดคือ ลุ่มน้ําเลย ลุ่มน้ําโขง ได้แก่ บริเวณอําเภอวังสะพุง อําเภอเมือง อําเภอเชียงคาน เป็นเขตที่ทําการเกษตรได้ดี มีประชากรหนาแน่นมากกว่าเขตอื่น ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นเทือกเขาในแนวทิศเหนือใต้ โดยมีที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา ขนาดไม่ใหญ่มากนัก สลับอยู่แนวเทือกเขาเหล่านั้น หินที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีอายุมาก เช่นหินแปร ยุคไซลูเรียน - ดีโวเนียน อายุ 438-378 ล้านปี หินปูน ยุคดีโอเนียนตอนกลาง อายุ 385 ล้านปี หินตะกอนและหินแปรชั้นต่ำ อายุ 360-280 ล้านปี หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส หินปูนและหินดินดาน ยุคเพอร์เมียน อายุ 286-248 ล้านปี หินตะกอน ยุคไตรแอสซิก อายุ 220 ล้านปี และพบหินยุคโคราช บริเวณเขายอดราบอยู่บนหินเหล่านี้เช่น ภูผาจิต ภูกระดึง ภูหลวง ภูหอ ภูขัด ภูเมี่ยง (อําเภอนาแห้ว) เนื่องจากชั้นหินเกือบทั้งหมดวางอยู่แนวเหนือ - ใต้ จึงควบคุมให้เกิดที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาและทิศทางแนวเหนือใต้ด้วย แม่น้ําเลยจึงไหลจากใต้ขึ้นเหนือ  

ภูมิอากาศ

จังหวัดเลย อยู่ใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม จะมีลมมรสุมหรือแนวปะทะโซนร้อน (Inter Tropical Convergence Zone : ITCZ) พาดผ่านทำให้มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน และบางครั้งจะมีพายุหมุนเขนร้อน (Tropical Cycloen) เคลื่อนเข้ามาผ่านเป็นครั้งคราวซึ่งจะมีฝนตกหนัก

จังหวัดเลย เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ -1.3 องศาเซลเซียส (2 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 43.5 องศาเซลเซียส (25 เมษายน พ.ศ. 2517) อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 25.5-26.5 องศาเซลเซียส และจะมีอุณหภูมิที่หนาวจัดในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 5.5 องศาเซลเซียส (พ.ศ. 2557)


  

เขตการปกครอง

1 เมืองเลย Mueang Loei
ที่ว่าการอำเภอเมืองเลย ถนนจรัสศรี ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
จังหวัดเลย 42000
โทรศัพท์ : 0-4281-1213
Fax: 0-4281-1213
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

2 นาด้วง Na Duang
ที่ว่าการอำเภอนาด้วง เลขที่ 189 หมู่ที่ 6 ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง
จังหวัดเลย 42210
โทรศัพท์: 0-4288-7015
Fax: 0-4288-7015
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

3 เชียงคาน Chiang Khan
ที่ว่าการอำเภอเชียงคาน เลขที่ 44 หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
จังหวัดเลย 42110
โทรศัพท์: 0-4282-1597
Fax: 0-4282-1597
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

4 ปากชม Pak Chom
ที่ว่าการอำเภอปากชม ถนนปากชม- ศรีเชียงใหม่ ตำบลปากชม อำเภอปากชม
จังหวัดเลย 42150
โทรศัพท์: 0-4288-1569
Fax: 0-4288-1569
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

5 ด่านซ้าย Dan Sai
ที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย ถนนแก้วอาสา ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย
จังหวัดเลย 42120
โทรศัพท์: 0-4289-1266
Fax: 0-4289-1266
Email:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

6 นาแห้ว Na Haeo
ที่ว่าการอำเภอนาแห้ว หมู่ที่ 5 ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว
จังหวัดเลย 42170
โทรศัพท์: 0-4289-7041
Fax: 0-4289-7020
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

7 ภูเรือ Phu Ruea
ที่ว่าการอำเภอภูเรือ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ
จังหวัดเลย 42160
โทรศัพท์: 0-4289-9004
Fax: 0-4289-9004
Email:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

8 ท่าลี่ Tha Li
ที่ว่าการอำเภอท่าลี่ ถนนทรงฆะศิริ ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่
จังหวัดเลย 42140
โทรศัพท์: 0-4288-9206
Fax: 0-4288-9206
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

9 วังสะพุง Wang Saphung
ที่ว่าการอำเภอวังสะพุง ถนนภูมิวิถี ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง
จังหวัดเลย 42130
โทรศัพท์: 0-284-1141
Fax: 0-4284-1370
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

10 ภูกระดึง Phu Kradueng
ที่ว่าการอำเภอภูกระดึง เลขที่ 119 หมู่ที่ 8 ตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง
จังหวัดเลย 42180
โทรศัพท์: 0-4287-1093
Fax: 0-4287-1093
Email: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 
 

11 ภูหลวง Phu Luang
ที่ว่าการอำเภอภูหลวง หมู่ที่ 3 ถนนแยกภูหลวง-โนนสว่าง ตำบลหนองคัน
อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย 42230
โทรศัพท์: 0-4287-9100
Fax: 0-4287-9100
Email:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

12 ผาขาว Pha Khao
ที่ว่าการอำเภอผาขาว หมู่ที่ 1 ตำบลโนนปอแดง อำเภอผาขาว
จังหวัดเลย 42240
โทรศัพท์: 0-4281-8141-2
Fax: 0-4281-8142
Email:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

13 เอราวัณ Erawan
ที่ว่าการอำเภอเอราวัณ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 กิโลเมตรที่ 19
หมู่ที่ 13 ตำบลผาอินทร์แปลง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย 42220
โทรศัพท์: 0-4285-3027
Fax: 0-4285-3027
Email:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

14 หนองหิน Nong Hin 
ที่ว่าการอำเภอหนองหิน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหิน อำเภอหนองหิน
จังหวัดเลย 42190
โทรศัพท์: 0-4285-2031
Fax: 0-4285-2031
Email:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567